Blog

การโปรแกรม Firmware สำหรับใช้งาน Keyboard - Keypad ด้วยโปรแกรม QMK Toolbox

การโปรแกรม Firmware สำหรับใช้งาน Keyboard - Keypad ด้วยโปรแกรม QMK Toolbox
การโปรแกรม Firmware สำหรับใช้งาน Keyboard - Keypad ด้วยโปรแกรม QMK Toolbox 1. หลังจากที่ได้ Firmware มาแล้ว การที่จะเอา Firmware ไปโปรแกรมเข้า Keyboard - Keypad ผู้ใช้จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม QMK Toolbox โดยการคลิกที่ Get QMK Toolbox ดังรูป ..

Full Article
Posted: 05/07/2021
View News List

Blog คีย์บอร์ด

การใช้งานคีย์บอร์ด GPAD8-2R เบื้องต้น

GPAD8-2R คือ มาโครแพดขนาด 8 คีย์ 2 Knob ที่เราสามารถตั้งค่าแต่ละคีย์ได้ว่า ต้องการจะเป็นคีย์อะไร เพื่อสะดวกเวลาใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่ต้องกดคีย์ลัดหลายๆ คีย์ ยกตัวอย่างเช่น คำสั่ง Copy ( Ctrl+C ) ซึ่งต้องกดคีย์บอร์ด 2 คีย์ เราก็สามารถตั้งให้กดเพียงครั้งเดียวได้ ทำให้สะดวกและประหยัดเวลาเป็นอย่างมาก

คุณสมบัติของคีย์บอร์ด GPAD8-2R

1. ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิต Dual-core Arm Cortex-M0+ ความเร็วสูงสุด 133 MHz เบอร์ RP2040

2. รองรับสวิตช์ Cherry MX หรือเทียบเท่า แบบ 3 ขา หรือ 5 ขา

3. บอร์ดเป็นแบบ Hot swap ทำให้เปลี่ยนสวิตช์ได้โดยไม่ต้องบัดกรี

4. มี Knob 2 ตัว ซึ่งสามารถตั้งค่าได้อย่างอิสระ

5. ใช้ขั้วต่อ USB Type-C ในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์

6. ส่วนป้องกันของ USB มีทั้ง ESD Protection และ PTC Resettable Fuse

7. มีหลอดไฟ RGB LED ส่องด้านล่างคีย์แต่ละคีย์ (South facing LED) และส่องล่างบอร์ด ซึ่งสามารถปรับแต่งสีและรูปแบบได้

8. รองรับการใช้งานผ่านโปรแกรม VIA , Vial และ QMK Configurator

9. การโปรแกรม Firmware ใหม่ทำได้ง่าย โดยใช้วิธีการ Drag and Drop เหมือน USB Flash Drive ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่ม

10. อัตราการส่งข้อมูลผ่าน USB ( Polling Rate ) 1000 Hz

11. ขนาดบอร์ด 96 mm x 83 mm

12. รองรับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ Windows / Mac OS / Linux

***หมายเหตุ Firmware ที่ติดตั้งจากร้านไปจะเป็น Vial ถ้าลูกค้าต้องการใช้ VIA ก็สามารถโปรแกรม Firmware ใหม่ได้เองโดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ https://github.com/gkeyboard/GPAD8-2R

การใช้งานคีย์บอร์ด GPAD8-2R ร่วมกับโปรแกรม Vial

ส่วนนี้จะอธิบายการใช้งานในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนรายรายละเอียดเชิงลึกให้ศึกษาได้จากหน้าเว็บของ Vial ในส่วนของ User manual ได้เลย

เริ่มต้นการใช้งานโปรแกรม Vial

1. ทำการติดตั้งโปรแกรม Vial โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก https://get.vial.today

2. เลือก Download Vial ดังรูป

3. เลือกโปรแกรมตามระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ จากนั้นทำการติดตั้งโปรแกรม

4. เชื่อมต่อ GPAD8-2R เข้าที่คอมพิวเตอร์ และเปิดโปรแกรม Vial จะเห็นหน้า Layout ของ GPAD8-2R ดังรูป

5. นอกจากการตั้งค่าผ่านโปรแกรม Vial ที่ติดตั้งแล้ว ยังสามารถใช้งานผ่าน web browser ได้ด้วยโดยไปที่ https://get.vial.today เลือก Start Vial Web หรือไปที่ https://vial.rocks ดังรูป

6. จากนั้นจะปรากฏหน้า Vial Web ดังรูป ให้กดปุ่ม Start Vial

7. จากนั้นจะปรากฏข้อความต้องการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ HID ให้เลือก GPAD8-2R และกดปุ่ม เชื่อมต่อ

8. รอสักครู่จะเชื่อมต่อกับ GPAD8-2R ได้ดังรูป

การทดสอบการทำงานสวิตช์

1. ให้เลือกที่ Matrix tester ดังรูป

2. ทำการกดปุ่มแต่ละปุ่มและกดที่ Knob จากรูปแสดงว่า สวิตช์ทุกตัวใช้งานได้ปกติ

การตั้งค่าการกดของปุ่ม

1. ให้คลิกเลือกที่ปุ่มที่ต้องการตั้งค่า ตัวอย่างจากรูปจะเลือกตั้งค่าปุ่มแรก ดังรูป

2. จากนั้นเลือกว่าต้องการจะให้เป็นคีย์อะไร โดยเลือกจากแท็บด้านล่าง จากตัวอย่าง ลองเลือกปุ่มแรกเป็นตัว อักษร Q ดังรูป

การตั้งค่า Knob

Knob จะสามารถตั้งค่าได้ 3 สถานะ คือ หมุนตามเข็มนาฬิกา , หมุนทวนเข็มนาฬิกา และกดที่ Knob ซึ่งการตั้งค่าสามารถทำได้ดังนี้

- การตั้งค่าก็เหมือนกับการตั้งค่าปุ่มกดทั่วไป โดยตัวอย่างจากรูป Knob ด้านซ้าย จะตั้งเป็นเพิ่มเสียงและลด เสียงเมื่อกดที่ Knob จะเป็นการ Mute ส่วน Knob ทางด้านขวา จะเป็นการเลือกโหมดของไฟ RGB เมื่อกดที่ Knob จะเป็นการเปิดปิดไฟ RGB เป็นต้น

การใช้งาน Tab Dance

Tab Dance คือ การตั้งค่าปุ่มให้สามารถใช้งานได้หลายสถานะ เช่น กด 1จังหวะเป็นคีย์หนึ่ง กด 2 จังหวะเป็นคีย์หนึ่ง กดค้างก็เป็นอีกคีย์ โดยสามารถตั้งไว้ล่วงหน้าสูงสุด 32 ค่า TD(0) – TD(31) ซึ่งการตั้งค่าสามารถทำได้ดังนี้

1. เลือกไปที่แท็บ Tab Dance ดังรูป จากตัวอย่างจะเลือกเป็น Tab Dance 0

2. สถานะของ Tab Dance มีดังนี้
- On tap คือ กด 1 จังหวะ
- On hold คือ กดค้าง
- On double tab คือ กด 2 จังหวะ
- On tab + hold คือ กด 2 จังหวะ + กดค้าง
โดยที่ระยะเวลาของการกด tab สามารถที่จะตั้งได้จาก Tapping term (ms) ซึ่งค่าเริ่มต้นคือ 200 มิลลิวินาที

3. ทดลองตั้งค่า Tab Dance 0 ดังรูป คือ กด 1 จังหวะจะเป็นคีย์ A กดค้างจะเป็นคีย์ B กด 2 จังหวะ จะ เป็น คีย์ C และกด 2 จังหวะ + กดค้าง จะเป็นคีย์ D

4. จากนั้นกลับมาที่แท็บ Keymap และ แท็บด้านล่างเลือกเป็น Tab Dance เลือก TD(0) ให้กับปุ่มที่ต้องการ ตั้งค่าดังรูป

5. จากนั้นทดลองเปิดโปรแกรม Notepad ทดลองกดปุ่มดูการทำงานของ Tab Dance

การใช้งาน Combos

Combos คือ การที่กดคีย์พร้อมกัน 2-4 คีย์ แล้วได้ค่าเป็นอีกคีย์ โดยสามารถตั้งไว้ล่วงหน้าสูงสุด 32 เงื่อนไข Combos 1-32 ซึ่งการตั้งค่าสามารถทำได้ดังนี้

1. เลือกไปที่แท็บ Combos ดังรูป จากตัวอย่างจะเลือกเป็น Combos 1 โดยที่สามารถตั้งค่าปุ่มการกดพร้อมกัน ได้ 4 ปุ่ม Key 1 – Key 4 และ Output key คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการกดปุ่มพร้อมกัน

2. ทดลองตั้งค่าดังรูป จากตัวอย่างนี้ จะตั้งเป็นเมื่อกดคีย์ A และ B พร้อมกันจะได้คีย์ C

การใช้งาน Layers

Layers คือ ชั้นของคีย์ที่สามารถวางซ้อนกันได้ โดย Layerของบอร์ดนี้จะตั้งไว้สูงสุด 8 คือ Layer 0-Layer 7 โดยตัวอย่างนี้ จะใช้ MO(0)-MO(7) ซึ่งจะเปลี่ยน Layer เมื่อกดปุ่มค้าง คล้ายๆ กับการกดปุ่ม Shiftแล้วปุ่มเดิมกลายเป็นอีกคีย์ ซึ่งการตั้งค่าสามารถทำได้ดังนี้

1. โดยปกติค่าเริ่มต้นของ Layers จะอยู่ที่ Layer 0 ดังรูป

2. จากนั้นให้เลือกเป็น Layer 1 ดังรูป จะเห็นว่าปุ่มยังไม่มีการตั้งคีย์

3. ให้ทดลองตั้งคีย์ต่างๆ ตามต้องการ โดยให้ยกเว้นปุ่มที่ต้องการให้เป็นปุ่มที่ใช้เปลี่ยน Layer ให้เป็น KC_TRNS ดังรูป

4. จากนั้นให้กลับมาที่ Layer 0 และแท็บด้านล่างเลือกเป็น Layers เลือก MO(1) ให้กับปุ่มที่ต้องการใช้ เปลี่ยนเป็น Layer 1 ดังรูป

5. จากนั้นทดลองเปิดโปรแกรม Notepad ทดลองกดปุ่ม A จะเห็นว่าปรากฏตัวอักษร A จากนั้นกดปุ่ม MO(1) ค้างไว้และกดที่ปุ่ม A จะเห็นว่าทีนี้จะกลายตัวอักษร I ตามที่ตั้งไว้ใน Layer 1 คำสั่งเปลี่ยน Layer นี้นอกจาก คำสั่ง MO แล้วยังมีคำสั่งอื่นอีกโดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก https://docs.qmk.fm/#/feature_layers

การใช้งาน Macros

Macros คือ การใช้งานลักษณะที่กดปุ่มใดๆ เพียงครั้งเดียวแล้ว จากนั้นจะทำส่งชุดการกดคีย์ ที่ได้บันทึกไว้ก่อนหน้าออกไป โดยที่ Macros ในโปรแกรม Vial นี้ตั้งไว้สูงสุด 32 มาโคร M0-M31 ซึ่งการตั้งค่าสามารถทำได้ดังนี้

1. ตัวอย่างนี้จะแสดงการใช้คำสั่ง Copy ใน OS Windows ซึ่งปกติจะต้องกดคีย์ Ctrl ตามด้วย C

2. ไปที่แท็บ Macros เลือก M0 หมายถึง เราต้องการบันทึกไว้ที่มาโคร 0 โดยวิธีการใส่มาโครทำได้ 2 วิธี คือ Add action คือ การใส่คีย์โดยการเลือกใส่คีย์และลักษณะการกดคีย์เอง และอีกวิธีคือ Record macro ซึ่งก็คือการบันทึกจากการกดคีย์ของเรา ส่วนปุ่ม Tab Enter คือ ใส่การกดคีย์ Enter

3. ในตัวอย่างนี้จะแสดงการใช้ Record Macro ซึ่งทำได้โดยกดที่ปุ่ม Record macro จากนั้นเลือก Replace everything จากนั้นโปรแกรมจะเริ่มการบันทึก ให้กดคีย์ Ctrl ตามด้วย C บนคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ และ กดที่ปุ่ม Stop recording เพื่อจบการบันทึก

4. จากนั้นจะเห็นรูปแบบการกดคีย์ที่บันทึกไว้ ดังรูป ให้กด Save เพื่อบันทึกค่านี้ไว้

5. กลับมาที่แท็บ Keymap และแท็บด้านล่างเลือกเป็น Macro เลือก M0 จากที่เราได้บันทึกไว้ ให้กับปุ่มที่ ต้องการดังรูป จากนั้นทดลองกดปุ่ม M0 ทดลองคำสั่งที่บันทึกไว้

การปรับแต่งไฟ RGB LED ของบอร์ด

1. การปรับแต่งไฟ RGB LED สามารถทำได้โดย เลือกที่แท็บ Lighting โดยสามารถเลือกรูปแบบได้ที่เมนู RGB Effect โดยที่ Disable คือ การปิดไฟ RGB LED นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนสี RGB LED ที่เมนู RGB Color เปลี่ยนความสว่างที่เมนู RGB Brightness ปรับเปลี่ยนความเร็วของรูปแบบ Effect ที่เมนู RGB Speed เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้วอย่าลืมกด Save ด้วย ไม่อย่างนั้นบอร์ดจะไม่จำค่าที่ตั้งไว้

ไม่มีสินค้าในหมวดนี้
  • MLT
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • การจัดส่ง
  • Facebook
  • ติดต่อเราทาง Line
  • Visa-Master
  • Paypal
  • เงินสด
Powered By MLT
MLT © 2024